Tongue out                              
วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก

จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก

การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา

ส่วนการนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง

จะมีผู้เล่นอยู่ในทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ 
 
 Cry

การว่ายน้ำแบบต่าง ๆ

 การว่ายแบบฟรีสไตล์

        ฟรีสไตล์ คือ รายการที่ผู้เข้าแข่งขันจะว่ายแบบใดก็ได้ ยกเว้นในการว่ายแบบเดี่ยวผสมหรือแบบผลัดผสม ฟรีสไตล์ หมายถึง การว่ายน้ำแบบใด ๆ นอกเหนือจากการว่ายกรรเชียง กบ และผีเสื้อ ในการว่ายแบบฟรีสไตล์ การกลับตัวและการเข้าเส้นชัยของนักว่ายน้ำจะสามารถแตะผนังขอบสระด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้ การใช้มือข้างหนึ่งข้างใดแตะก็ย่อมได้

 การว่ายแบบกรรเชียง

        1.ผู้เข้าแข่งขันจะต้องลงไปตั้งต้นในน้ำ โดยหันหน้าเข้าหาแท่นตั้งต้น มือทั้งสองจับที่จับสำหรับการเริ่มต้น เท้าทั้งสองรวมทั้งหัวแม่เท้าจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ห้ามเหยียบ ยืน หรือใช้หัวแม่เท้าเกาะอยู่ที่รางระบายน้ำ นักว่ายน้ำจะต้องไม่เคลื่อนไหวส่วนใด ๆ ของร่างกายก่อนสัญญาณการเริ่มต้นจะเริ่มขึ้น

        2.เมื่อให้สัญญาณการเริ่มต้น หรือการกลับตัวให้ถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย และต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน มือทั้งสองจะต้องไม่ปล่อยจากที่เกาะก่อนสัญญาณเริ่มต้นจะเริ่มขึ้น

        3.ผู้เข้าแข่งขันคนใดเปลี่ยนท่าจากท่านอนหงายปกติ ก่อนที่ศรีษะ ไหล่ มือ หรือแขน จะแตะขอบสระ เพื่อการกลับตัวหรือเข้าเส้นชัย จะต้องถูกตัดสิทธิ์ให้แพ้ฟาล์วทันที จะอนุญาตให้บิดไหล่ตีลังกาได้หลังจากที่มือแตะขอบสระอย่างสมบูรณ์แล้ว เพื่อการกลับตัว แต่นักว่ายน้ำจะต้องกลับสู่ท่านอนหงายทันที ก่อนที่เท้าทั้งสองจะหลุดออกจากขอบสระ ท้านอนหงายปกติของการว่ายแบบกรรเชียง จะคลุมไปถึงการกลิ้งของลำตัวในการเคลื่อนไหว แต่ไม่รวมถึงตำแหน่งลำตัวที่กลิ้งจนทำมุมกับแนวนอนเป็นมุม 90 องศา ส่วนตำแหน่งของศีรษะจะอย่างไรก็ได้

 การว่ายแบบกบ

        1.ตั้งแต่เริ่มต้นของการใช้แขนจังหวะแรก หลังจากออกเริ่มต้น และหลังจากการกลับตัวแต่ละครั้ง ลำตัวของผู้ว่ายจะต้องอยู่ในท่าคว่ำหน้า ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานเป็นแนวเดียวกันกับผิวน้ำ

        2.ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของแขนทั้งสองข้างต้องทำพร้อม ๆ กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน แขนทั้งสองจะไม่มีการเคลื่อนไหวสลับกันขึ้นลง

        3.การพุ่งแขนทั้งสองจะต้องพุ่มไปข้างหน้าพร้อม ๆ กันจากหน้าอกและดึงกลับไปข้างหลังที่ระดับผิวน้ำ หรือใต้ผิวน้ำก็ได้ (ยกเว้นในการเริ่มต้นและการกลับตัว) มือทั้งสองจะต้องไม่ดึงกลับหลังจนเลยแนวสะโพกไป

        4.ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของขาทั้งสองจะต้องทำพร้อม ๆ กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน ขาทั้งสองจะไม่มีการเคลื่อนไหวสลับกันขึ้นลง

        5.การเตะขา เท้าทั้งสองจะต้องเตะกวาดออกไปด้านนอกในลักษณะเคลื่อนไปทางด้านหลัง ไม่อนุญาตให้เตะขาสลับขึ้นลงหรือแบบปลาโลมาสะบัดหาง ขาทั้งสองจะขึ้นมาอยู่เหนือผิวน้ำก็ได้ แต่จะต้องไม่เตะขาลงแบบปลาโลมาสะบัดหาง

        6.ในการกลับตัวแต่ละครั้ง และการเข้าเส้นชัย จะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้งสองพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำ ไหล่ทั้งสองจะต้องอยู่ในลักษณะขนานกับผิวน้ำ

        7.ในการว่ายแต่ละช่วง 1 จังหวะของการดึงแขนหนึ่งครั้ง เตะขาหนึ่งครั้งจะต้องมีบางส่วนของศรีษะของนักว่ายน้ำโผล่พ้นระดับน้ำให้เห็น ยกเว้นหลังจากการออกเริ่มต้นและการกลับตัวแต่ละครั้ง นักว่ายน้ำสามารถดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้ง และเตะขาได้ 1 ครั้ง ก่อนที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำ

 การว่ายแบบผีเสื้อ

        1.แขนทั้งสองจะต้องยกไปข้างหน้าเหนือน้ำ และดึงกลับไปหลังพร้อม ๆ กัน

        2.ลำตัวจะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานกับระดับผิวน้ำ ตั้งแต่จังหวะเริ่มต้นของการใช้แขนจังหวะแรก และภายหลังจากการเริ่มต้นและการกลับตัวแต่ละครั้ง

        3.ตลอดเวลาการเคลื่อนไหวของขาทั้งสอง จะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อม ๆ กัน ขาและเท้าทั้งสองจะต้องเคลื่อนขึ้น – ลงพร้อม ๆ กันในแนวดิ่ง ขาและเท้าทั้งสองไม่อยู่ระดับเดียวกันก็ได้

        4.การกลับตัวแต่ละครั้งและการเข้าเส้นชัย การแตะขอบสระจะต้องแตะด้วยมือทั้งสองพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะแตะเหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำ ไหล่ทั้งสองจะต้องขนานกับระดับผิวน้ำ

        5.ในการเริ่มต้น และการกลับตัวแต่ละครั้ง อนุญาตให้นักว่ายน้ำเตะขาได้ 1 ครั้ง หรือมากกว่าต่อการดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น เพื่อให้นำตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำ

การว่ายเดี่ยวผสม ผลัดผสม

        1.ในรายการว่ายเดี่ยวผสม นักว่ายน้ำจะต้องว่ายรวม 4 แบบตามลำดับ คือ ผีเสื้อ กรรเชียง กบ และฟรีสไตล์

        2.ในรายการว่ายผลัดผสม จะต้องประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำ 4 คน และว่ายคนละแบบตามลำดับ คือ กรรเชียง กบ ผีเสื้อ และฟรีสไตล์

 กติกาว่ายน้ำ

        กติกาการแข่งขันต่อไปนี้ ใช้ควบคุมการแข่งขันที่จัดขึ้นทุกประเภท ได้แก่ การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลก การแข่งขันระหว่างทวีป และการแข่งขันทั่ว ๆ ไประหว่างประเทศ ยกเว้นการแข่งขันที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

การดำเนินการแข่งขัน

        1.คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันที่แต่งตั้งขึ้นมา และได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ มีอำนาจเหนือผู้ตัดสินชี้ขาด กรรมการตัดสิน หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ และมีอำนาจสั่งให้เลื่อนรายการแข่งขันได้ภายในขอบเขตที่บัญญัติไว้ในกติกา

        2.ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลก และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศของสหพันธ์ฯ คณะกรรมการสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการและเจ้าหน้าที่ เพื่อควบคุมการแข่งขันอย่างน้อยที่สุด ดังต่อไปนี้

ผู้ตัดสินชี้ขาด 1 คน
กรรมการดูฟาล์ว 4 คน
ผู้ปล่อยตัว 2 คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2 คน
หัวหน้าผู้บันทึก 1 คน
ผู้บันทึก 1 คน
ผู้รับรายงานตัว 2 คน
กรรมการเชือกฟาล์ว 1 คน
ผู้ประกาศ 1 คน

        สำหรับการแข่งขันระหว่างชาติรายการอื่น ๆ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในจำนวนเท่ากัน หรือน้อยกว่ากันได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ แต่ต้องมีการแต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ หัวหน้าผู้จับเวลา 1 คน ผู้จับเวลาลู่ละ 3 คน หัวหน้าเส้นชัย 1 คน กรรมการเส้นชัย อย่างน้อยลู่ละ 1 คน

กรรมการและเจ้าหน้าที่

ผู้ตัดสินชี้ขาด

        1.ผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นผู้ควบคุมและมีอนาจเหนือกรรมการและจ้าหน้าที่ทุกคน โดยเป็นผู้มอบหมายหน้าที่และให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับระเบียบการแข่งขัน หรือสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน โดยใช้กติกาการแข่งขันทั้งหมดของสหพันธ์กีฬาว่ายน้ำสมัครเล่นนานาชาติ (FINA) เป็นเครื่องตัดสิน และจะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดให้เป็นไปตามความเป็นจริงที่พบเห็น จากรายการแข่งขันหรือผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การตัดสินขั้นสุดท้ายจะถือว่าสิ้นสุดจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้

        2.ผู้ตัดสินชี้ขาดจะอยู่ในการแข่งขันทุกระยะ เพื่อจะได้แน่ใจว่าการแข่งขันได้เป็นไปตามกติกาหรือไม่ และจะสามารถวินิจฉัยการทักท้วงทุกชนิดที่เกี่ยวกับการแข่งขันได้

        3.เมื่อการตัดสินของกรรมการเส้นชัยกับกรรมการผู้จับเวลาไม่ตรงกัน ผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นผู้กำหนดลำดับที่ให้ และถ้าอุปกรณ์อัตโนมัติสามารถทำงานได้ตามปกติให้พิจารณาตัดสินได้ตามกติกา

        4.เมื่อใช้เครื่องบันทึกภาพหรือวีดีโอเทป ผู้ตัดสินชี้ขาดสามารถนำวีดีโอเทปนั้นมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจในกรณีเกิดความสงสัย หรือการประท้วงเกี่ยวกับกับการกลับตัว การเข้าเส้นชัย และการเริ่มต้นในการว่ายผลัดได้

        5.ผู้ตัดสินชี้ขากจะต้องมั่นใจว่าเจ้าหจ้าที่ทุกคนอยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถควบคุมการแข่งขันได้อย่างถูกต้อง และจะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรองเข้าแทนที่ เมื่อเจ้าหน้าที่นั้น ๆ ไม่อยู่ หรือมีจำนวนไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่

        6.ในการเริ่มต้นการแข่งจันแต่ละรายการ ผู้ตัดสินชี้ขาดจะให้สัญญาณแก่ผู้เข้าแข่งขัน โดยการเป่านกหวีดเสียงสั้น ๆ เพื่อเตือนให้ผู้เข้าแข่งขันถอดเสื้อวอร์ม หรือใส่แว่นตาเพื่อเตรียมพร้อม จากนั้นจะเป่านกหวีดเสียงยาวเพื่อสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าประจำที่ที่ส่วนหลังแท่นกระโดด (ถ้าเป็นการแข่งขันแบบกรรเชียงและว่ายแบบผลัดผสมให้ผู้เข้าแข่งขันลงไปในสระทันที) เมื่อผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ พร้อม ผู้ตัดสินจะให้สัญญาณให้ผู้ปล่อยตัวทราบโดยการเหยียดแขนออก ผู้ปล่อยตัวก็ใช้คำสั่งปล่อยตัวทันที

        7.ผู้ตัดสินชี้ขาดจะตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่เจตนาถ่วงเวลา หรือเจตนาทำผิดกติกาการแข่งขันที่ผู้ตัดสินชี้ขาดเห็นหรือได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

ผู้ปล่อยตัว

        1.ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจควบคุมผู้เข้าแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดได้ให้สัญญาณมือแก่เขา จนกระทั่งการแข่งยันได้เริ่มขึ้น

        2.ผู้ปล่อยตัวจะต้องรายงานให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบถึงกรณีที่นักกีฬาถ่วงเวลาการปล่อยตัว การเจตนาไม่เชื่อฟังคำสั่งหรือการทำผิดมารยาทในการเข้าประจำที่ ผู้ตัดสินชี้ขาดสามารถตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันที่ถ่วงเวลา เจตนาไม่เชื่อคำสั่งหรือการทำผิดมารยาทได้ แต่การตัดสิทธิ์นี้จะไม่นับรวมกับจำนวนครั้งของการฟาล์วในการตั้งต้น

        3.ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจเต็มในการปล่อยตัวเพื่อความยุติธรรมในการตั้งต้น ถ้าผู้ปล่อยตัวเห็นว่าการปล่อยตัวครั้งนั้นไม่ถูกต้อง ก็ให้สัญญาณซ้ำเพื่อให้สัญญาณว่ามีการฟาล์วเกิดขึ้น เพื่อจะทำการตั้งต้นใหม่ ยกเว้นภายหลังการฟาล์วเกิดขึ้น 2 ครั้งแล้ว ผู้ปล่อยตัวจะไม่ต้องให้สัญญาณซ้ำอีก คงปล่อยให้การแข่งขันดำเนินต่อไป

        4.การปล่อยตัวแต่ละรายการ ผู้ปล่อยตัวจะยืนอยู่ทางด้านข้างของสระ อยู่ห่างจากขอบสระด้านแท่นตั้งต้นประมาณ 5 เมตร และอยู่ในตำแหน่งที่ผู้จับเวลาสามารถมองเห็นสัญญาณการปล่อยตัวได้ชัดเจน และผู้เข้าแข่งขันทุกคนสามารถได้ยินสัญญาณนั้นได้ชัดเจน

ผู้รับรายงานตัว

        ผู้รับรายงานตัวต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มรายงานตัวแต่ละรายการก่อนการแข่งขันรายการนั้น ๆ

หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว

        1.หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว จะต้องแน่ใจว่ากรรมการดูการกลับตัวทุกคน จะต้องทำหน้าที่ในระหว่างการแข่งขันได้อย่างเต็มที่

        2.หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับรายงานจากกรรมการดูการกลับตัวว่ามีการทำผิดเกิดขึ้นต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที

กรรมการดูการกลับตัว

        1.ให้มีกรรมการดูการกลับตัวลู่ละ 1 คน ประจำอยู่ที่ปลายสระ

        2.กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคน จะต้องมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ฝ่าฝืนกติกาเกี่ยวกับการกลับตัว โดยเริ่มดูตั้งแต่การเริ่มช่วงสุดท้ายของการใช้แขนก่อนแตะขอบสระ และสิ้นสุดลงเมื่อเริ่มต้นช่วงแรกของการใช้แขนหลังการกลับตัว กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำอยู่ด้านเส้นชัยจะต้องมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันได้แตะขอบสระหรือแผ่นแตะอย่างถูกต้องตามกติกาการแข่งขัน

        3.ในรายการแข่งขันประเภทเดี่ยว ระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านปลายสระ ต้องบันทึกจำนวนรอบที่ว่ายไปแล้วของผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายที่ตนรับผิดชอบ และแจ้งจำนวนรอบที่เหลือให้ผู้เข้าแข่งขันทราบด้วยป้ายบอกรอบที่เตรียมไว้นั้น

        4.กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านเส้นชัยแต่ละคนจะต้องให้สัญญาณเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร ก่อน 2 เที่ยวสุดท้ายที่จะสิ้นสุดการว่ายระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร สัญญาณเตือนอาจใช้สัญญาณนกหวีดหรือระฆังก็ได้

        5.กรรมการดูการกลับตัวที่ด้านเส้นชัยแต่ละคน จะเป็นผู้ดูการตั้งต้นของผู้แข่งขันในรายการว่ายผลัด ว่าการแระโดดเริ่มของผู้แข่งขันคนถึดไปนั้นได้กระโดดออกจากแท่นตั้งต้น เมื่อผู้ว่ายคนก่อนได้แตะขอบสระหรือแผ่นแตะแล้ว

        6.กรรมการดูการกลับตัว จะต้องรายงานการทำผิดระเบียบต่าง ๆ พร้อมรายละเอียดในแบบฟอร์ม โดยแจ้งถึงรายการแข่งขัน หมายเลขลู่ว่าย ชื่อผู้เข้าแข่งขัน และรายละเอียดต่าง ๆ ของการทำผิดระเบียบให้หัวหน้ากรรมการกลับตัวทราบ เพื่อจะได้รายงานให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที

กรรมการดูฟาล์ว

        1.กรรมการดูฟาล์วจะต้องอยู่ด้านข้างของสระแต่ละด้าน

        2.การรมการดูฟาล์วแต่ละคน จะต้องเข้าใจกติกาการแข่งขันเกี่ยวกับแบบของการว่ายแต่ละประเภทเป็นอย่างดี แต่จะต้องดูการกลับตัวเพื่อช่วยกรรมการดูการกลับตัวด้วย

        3.กรรมการดูฟาล์วจะต้องรายงานการทำผิดระเบียบต่าง ๆ ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด โดยบันทึกรายละเอียดลงในใบบันทึก แจ้งถึงรายการแข่งขัน หมายเลขลู่ว่าย ชื่อผู้เข้าแข่งขัน และรายละเอียดการทำผิดระเบียบนั้น ๆ

หัวหน้ากรรมการจับเวลา

        1.หัวหน้ากรรมการจับเวลาจะต้องเป็นผู้กำหนดตำแหน่งที่นั้งสำหรับกรรมการจับเวลาแต่ละลู่ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในแต่ละลู่ว่ายจะมีกรรมการจับเวลา 3 คน และมีกรรมการจับเวลาสำรองอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่แทนในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาเรือนใดเกิดขัดข้องในระหว่างการแข่งขัน หรือด้วยเหตุผลใด ๆ ที่ไม่สามารถจับเวลาได้

        2.หัวหน้ากรรมการจับเวลาจะต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาจากกรรมการจับเวลาทุกคน และถ้ามีความจำเป็นอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น ๆ ได้

        3.หัวหน้ากรรมการจับเวลา จะต้องตรวจสอบเวลาที่เป็นทางการในใบบันทึกเวลาแต่ละลู่ว่ายทุกครั้ง

กรรมการจับเวลา

        1.กรรมการจับเวลาแต่ละคนจะตับเวลาของผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายที่ตนรับผิดชอบ นาฬิกาจับเวลาแต่ละเรื่อนจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน

        2.กรรมการจับเวลาแต่ละคนจะเริ่มต้นเดินนาฬิกาเรือนของตนเอง เมื่อได้รับสัญญาณเริ่มต้น และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์ กรรมการจับเวลาอาจจะได้รับคำสั่งจากหัวหน้ากรรมการจับเวลาให้จับเวลาในระยะทางอื่น ๆ ในการแข่งขันที่มีระยะเกินกว่า 100 เมตรด้วยก็ได้

        3.ทันทีที่การแข่งขันได้สิ้นสุดลง กรรมการจับเวลาในแต่ละลู่ว่ายจะต้องบันทึกเวลาของตนลงบนใบบันทึก และมอบให้หัวหน้ากรรมการจับเวลา และถ้ามีข้อสงสัยของตรวจสอบเวลาอีกได้ และจะต้องให้ตรวจสอบได้ทันที กรรมการจับเวลาจะต้องไม่ลบเวลาของตน จนกระทั่งได้รับสัญญาณจากหัวหน้ากรรมการจับเวลาหรือผู้ตัดสินชี้ขาดให้ลบเวลา

        4.นอกจากจะมีการใช้ระบบวีดีโอเทปเป็นเครื่องช่วยความจำเป็นอย่างดียิ่งของกรรมการจับเวลา ทั้ง ๆ ที่มีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่อยู่ด้วยก็ตาม

หัวหน้ากรรมการเส้นชัย

        1.หัวหน้ากรรมการเส้นชัย จะเป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้

        2.ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการ หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะรวบรวมผลการแข่งขันจากกรรมการเส้นชัยแต่ละคน และให้ลำดับที่การเข้าเส้นชัยของผู้เข้าแข่งขันตามลำดับ พร้อมนำส่งผลนั้นต่อผู้ตัดสินชี้ขาด

        3.เมื่อมีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่ตัดสินการเข้าเส้นชัยในการแข่งขัน หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องบันทึกลำดับที่การแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการได้สิ้นสุดลง

กรรมการเส้นชัย

        1.กรรมการเส้นชัยจะต้องนั่งประจำที่ที่อัฒจันทร์เส้นชัยที่ตั้งอยู่แนวเดียวกับเส้นชัย และอยู่ในตำแหน่งที่สามารุมองเห็นเส้นชัยได้อย่างชัดเจน นอกจากในกรณีที่มีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ เพื่อแบ่งความรับผิดชอบในลู่ว่ายที่ได้รับมอบหมายด้วยการกดปุ่มสัญญาณของการแตะเส้นชัยของผู้ว่ายในลู่ของตนเท่านั้น

        2.หลังการแข่งขันแต่ละรายการ กรรมการเส้นชัยจะต้องตัดสินลำดับที่ของผู้เข้าแข่งขันในลู่ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการเส้นชัยจะทำหน้าที่ในการกดปุ่มสัญญาณเท่านั้น จะไม่ไปทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกันนี้

เจ้าหน้าที่ควบคุมผลการแข่งขัน

        1.หัวหน้าผู้บันทึกจะมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับสถิติและลำดัลที่ในแต่ละรายการ ได้รับจากผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องดูการเซ็นชื่อกำกับผลการแข่งขันของผู้ตัดสินชี้ขาดด้วยว่าได้เซ็นชื่อรับรองผลหรือไม่

        2.ผู้บันทึกจะต้องควบคุมและเก็บหลักฐานของการสละสิทธิ์ การทำสถิติใหม่ ตลอดทั้งเก็บผลการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นรอบคัดเลือกหรือรอบชิงชนะเลิศไว้อย่างครบถ้วน กรรมการเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ จะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเองในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ นอกเสียจากว่าปัญหานั้น ๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว

Foot in mouth

ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล

 

ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431

วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

 

วิวัฒนาการของฟุตบอล

 
  • ภาคตะวันออกไกล
    ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

  • ภาคตะวันออกกลาง
    ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงคราม โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
    ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล

    ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร) ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต

    ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน

    ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423

    ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
    ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป

    ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435

    ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
    กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
    การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)

    เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก
    ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
    ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก

    ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484

  • ในทวีปเอเชีย
    อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี

  • ในแอฟริกา
    สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส

    การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)

Wink

เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาโอลิมปิก โดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คนตีลูกบอลกระทบหน้าไม้หรือหลังไม้ให้ข้ามไปยังอีกฝากหนึ่งของโต๊ะ ซึ่งมันคล้ายกับกีฬาเทนนิส กฎกติกามีความแตกต่างกันบ้าง แต่มองภาพรวมแล้วเทเบิลเทนนิสกับเทนนิสมีลักษณะคล้ายกัน ในเกมเดี่ยว ไม่จำเป็นต้องตีลูกบอลให้ข้ามไขว้จากฝั่งขวามือของผู้ส่งไปยังฝั่งขวามือของผู้รับ(หรือซ้ายมือผู้ส่ง ไปยังซ้ายมือของผู้รับ)เหมือนกับเทนนิส อย่างไรก็ดี การเสิร์ฟไขว้ในลักษณะนั้นจำเป็นต้องมีในเกมเล่นคู่ ลูกสปิน ลูกเร็ว ลูกหยอด ซึ่งกลยุทธ์และเทคนิคการเล่นก็มีความสำคัญสำหรับเกมแข่งขันที่มีการชิงชัยชนะความเร็วของลูกบอลนั้นเริ่มจากการพุ่งด้วยความเร็วต่ำๆ ไปจนถึงการพุ่งด้วยความเร็วสูง ๆ โดยเฉพาะในลูกสปิน ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ที่ 112.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 69.9 ไมล์ต่อชั่วโมง[2]

กีฬาเทเบิลเทนนิสมักใช้เนื้อที่ในการเล่นทางยาวประมาณ 2.74 เมตร ทางกว้างประมาณ 1.525 เมตร และสูงจากพื้นราวเอวประมาณ 0.76 เมตร แต่ทางสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล กำหนดไว้ว่าต้องมีเนื้อที่เล่นทางยาวไม่น้อยกว่า 14 เมตร ทางกว้าง 7 เมตร และสูงจากพื้นประมาณ 5 เมตร สำหรับเกมการแข่งขัน ไม้ตีปกติแล้วมีแผ่นยางบางติดอยู่หน้าไม้ ยางมีปุ่มเล็กๆอยู่ด้านหนึ่ง เป็นชั้นบาง ๆอยู่ระหว่างตัวไม้ตีกับผิวหน้าฟองน้ำรองหน้าไม้อีกชั้นหนึ่ง ตั้งแต่การเล่นสปินได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในกีฬาเทเบิลเทนนิสของปัจจุบัน ได้มีการปรับคุณภาพของตัวยาง ฟองน้ำ และวิธีการประกอบยางเข้ากับตัวฟองน้ำ เพื่อเพิ่มความเร็วและอัตรการหมุนของลูกจากปกติ ส่วนเทคนิคการปรับเพิ่มคุณภาพอย่างอื่นได้แก่ การใช้คาร์บอนหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นเข้ามาประกอบกัน เพื่อทำให้เพิ่มความแม่นยำในการตีลูกให้มากขึ้นลูกบอลที่ใช้ในกีฬาเทเบิลเทนนิสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40 มม. มักทำมาจากเซลลูลอยด์และมีด้านในกลวง ๆ ตราสามดาวที่ติดอยู่บนลูกบอล หมายถึง คุณภาพที่ดีเยี่ยมของลูกนั้นเองเมื่อเปรียบเทียบกับลูกอื่น ๆ ผู้ชนะ คือ คนที่ทำแต้มได้ 11 คะแนนก่อน และมีการเปลี่ยนเสิร์ฟลูกในทุกๆ 2 แต้ม หากมีผลการแข่งกันเป็น 10-10 ผู้เล่นจะสลับกันเสิร์ฟ(และผู้เล่นชนะ คือคนที่ทำคะแนนได้ 2 แต้มติดต่อกัน) เกม 11 คะแนน เป็นเกมการแข่งขันที่ได้มีขึ้นจากสมาพันธ์กีฬาเทเบิลเทนนิสสากล(ITTF) การเปลี่ยนแปลงนี้ได้มีขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ทุกเกมที่เล่นกันในระดับชาติหรือระดับทัวร์นาเม้นต์สากลมักเป็นเกม 11 คะแนน ส่วนระดับชิงแชมป์เป็นเกม 7 คะแนน และในระดับที่ย่อมลงมาเป็นเกม 5 คะแนน


Advertising Zone    Close
 
Online:  2
Visits:  4,625
Today:  6
PageView/Month:  10

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com